การจัดการขยะติดเชื้อ
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย เผยว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทั่วประเทศส่งผลต่อปริมาณขยะติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ทั้งจากสถานพยาบาล การแยกกักตัวที่บ้าน และจากศูนย์พักคอยชุมชนขนาดเล็กขยะติดเชื้อ คือ ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษ ทิชชู ภาชนะใส่อาหารพร้อมบริโภค รวมไปถึงชุดตรวจโควิด-19 หรือ Test Kit ขยะเหล่านี้ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยงสูง
จึงต้องแยกจัดการจากขยะทั่วไป จึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับการ จัดการขยะติดเชื้อที่ถูกต้อง แบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 พื้นที่หรือชุมชน มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ กรณีที่ 2 พื้นที่หรือชุมชน ไม่มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ พร้อมทั้งแนะนำการเคลื่อนย้ายขยะติดเชื้อไปยังจุดพักขยะ หากอยู่ในระหว่างการแยกกักตัว ผู้ป่วยไม่ควรออกนอกห้องหรือออกได้เท่าที่จำเป็น โดยอาจขอให้สมาชิกในครอบครัว แม่บ้าน หรือนิติบุคคลอาคารชุด ช่วยนำขยะติดเชื้อไปไว้ยังจุดพักขยะที่จัดไว้เฉพาะ และต้องไม่ลืมล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮฮล์ทันที หลังจัดการขยะติดเชื้อทุกครั้ง เพื่อสุขอนามัยที่ดี และความปลอดภัยของตัวเราเอง
ทั้งจากสถานพยาบาล การแยกกักตัวที่บ้าน และจากศูนย์พักคอยชุมชนขนาดเล็กขยะติดเชื้อ คือ ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษ ทิชชู ภาชนะใส่อาหารพร้อมบริโภค รวมไปถึงชุดตรวจโควิด-19 หรือ Test Kit ขยะเหล่านี้ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยงสูง
จึงต้องแยกจัดการจากขยะทั่วไป จึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับการ จัดการขยะติดเชื้อที่ถูกต้อง แบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 พื้นที่หรือชุมชน มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ กรณีที่ 2 พื้นที่หรือชุมชน ไม่มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ พร้อมทั้งแนะนำการเคลื่อนย้ายขยะติดเชื้อไปยังจุดพักขยะ หากอยู่ในระหว่างการแยกกักตัว ผู้ป่วยไม่ควรออกนอกห้องหรือออกได้เท่าที่จำเป็น โดยอาจขอให้สมาชิกในครอบครัว แม่บ้าน หรือนิติบุคคลอาคารชุด ช่วยนำขยะติดเชื้อไปไว้ยังจุดพักขยะที่จัดไว้เฉพาะ และต้องไม่ลืมล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮฮล์ทันที หลังจัดการขยะติดเชื้อทุกครั้ง เพื่อสุขอนามัยที่ดี และความปลอดภัยของตัวเราเอง